สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 ในวันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ณ ห้อง Grand Diamond Ballroom ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 เวลา 14.00 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกระทรวง พม. ร่วมรับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวง พม. ได้รับรางวัลรวม 13 รางวัล ประกอบด้วย

1) สำนักงานปลัดกระทรวง พม. 4 รางวัล

2) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 5 รางวัล

3) กรมกิจการเด็กและเยาวชน 2 รางวัล

4) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 1 รางวัล

5) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 1 รางวัล

ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ณ ห้อง Grand Diamond Ballroom ชั้น 2 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี


Share:



การประชุมเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระดับกระทรวง/กรม

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดประชุมเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการ

ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระดับกระทรวง/กรม ในวันอังคารที่ 5 กันยายน 2566 

เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมวังสะพานขาว ชั้น 18 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 โดยใช้โปรแกรม Zoom โดยมี นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวง เป็นประธานในการประชุม โดยมีประเด็นการประชุม ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องเพื่อทราบ

1.1 องค์ประกอบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

1.2 ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ของกระทรวง พม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา

การพิจารณาตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของแต่ละกรมในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคม

และความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้

1) สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2) กรมกิจการเด็กและเยาวชน

3) กรมกิจการผู้สูงอายุ

4) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

5) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

6) กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องอื่น ๆ


Share:



โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) สป.พม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรม KM DAY สป.พม. Show & Share ครั้งที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาความคิดเชิงบวกเพื่อปรับใช้ในการทำงาน

มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดเชิงบวกเพื่อปรับใช้ในการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ได้มีการอภิปรายเรื่องความคิดเชิงบวก เป็นความสัมพันธ์โดยตรงกับความสุข เป็นความคิดที่เกิดขึ้น จากตัวเรา ดังนั้นตัวเรามีอิสระในความคิดที่จะนำไปสู่พฤติกรรมของเราแต่ละคน ซึ่งจะเห็นได้จากองค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า ในช่วงต้นปี 2020 ทั่วโลกมีคนป่วยเป็นโลกซึมเศร้าประมาณ 264 ล้านคน ซึ่งในประเทศไทยพบอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2561 คือ 8.81 ต่อประชากรแสนคน ปี 2652 คือ 8.95 ต่อประชากรแสนคน และในช่วงโควิดในปี 2563 คือ 10.08 ต่อประชากรแสนคน จะเห็นได้ว่ายิ่งอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นลบจะส่งผลต่อความคิดของคนในแง่ลบมากขึ้น

2. การสำรวจตนเองว่ามีอาการซึมเศร้าหรือไม่ โดยมีการสำรวจอาการดังต่อไปนี้

     1)  กังวล เครียด เบื่อ เฉื่อยชา

     2)  นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท

     3)  อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย แปรปรวน เป็นต้น

3. ได้มีการให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการบรรยาย หัวข้อ สุขกับทุกข์ ซึ่งวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมได้เล่าประสบการณ์ชีวิตในเรื่องของสุขกับทุกข์เพื่อแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

4. อภิปรายหัวข้อ จิตวิทยาเชิงบวก Positive Psychology

จิตวิทยาเชิงบวกเป็นศาสตร์ใหม่ เป็นจิตวิทยาในยุค 2000 ที่ยึดเอาจุดแข็งของมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา เน้นการพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ เป็นแนวคิดที่เริ่มมาจากแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม ที่ให้ความสนใจพัฒนาแนวคิด ที่เรียกว่า “ความสุขของมนุษย์” เป็นแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และสังคมเพื่อให้มนุษย์สามารถนำประสบการณ์และสิ่งต่างๆ ในชีวิต มาปรับให้ชีวิตมีความสุข มีคุณค่าและมีความหมาย โดยหลักสำคัญในการนำไปสู่ความสุข คือ การใช้จุดแข็งของตนเองให้เป็นประโยชน์ไม่ใช่การแก้ไขจุดอ่อน

5. เป็นการอภิปรายในหัวข้อ The Three Dimensions of Happiness  (3 ขั้นแห่งความสุข)

1) ความสุขขั้นแรก คือ ชีวิตที่เป็นสุข 2) ความสุขขั้นที่สอง คือ ชีวิตที่ดี 3) ความสุขขั้นที่สาม คือ ชีวิตที่มีความหมาย

6. ตัวอย่างความคิดเชิงบวก (Positive thinking) เช่น เหตุการณ์ไฟไหม้ ในมุมลบและมุมบวก

มุมลบ บ้านถูกไฟไหม้ ไม่มีอะไรเหลือ อนาคตที่เหลือพังหมดแล้ว ถ้าคิดในเชิงลบแบบนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในชีวิตต่อไปก็จะมีแต่ด้านลบ

มุมบวก ถึงแม้ว่าบ้านยังไฟไหม้ แต่ยังดีที่เรายังมีชีวิตรอด ยังมีชีวิตอยู่ การที่มีมุมมองเป็นบวก จะทำให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปได้ ถึงแม้จะต้องใช้เวลา แต่ก็มีความเชื่อมั่นว่าเราจะก้าวผ่านปัญหานี้ไปได้

7. ได้มีการอ้างถึงคำกล่าวของบุคคลต่างๆ เพื่อแสดงถึงมุมมองความคิดเชิงบวก

     1) ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า ถ้าเราเข้าใจความเป็นตัวเราเองกับสิ่งรอบข้าง ลดความเห็นแก่ตัว จะทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบในตัวเอง

     2) เอ็ดการ์ มิทเชลล์ ถ้าดูโลกจากยานอวกาศ เราจะไม่เห็นพรมแดน ไม่มีชายแดนกั้น โลกเป็นหนึ่งเดียวกัน หากมนุษย์จะอยู่รอดในอนาคตต้องพิชิตความเป็นชาตินิยม ไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ

8. การเข้าถึงความสุข 5 ขั้น ของ ท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)

     8.1 การมีสัมพันธภาพและเข้าใจผู้อื่น มีความรู้สึกว่าตนเองพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

     8.2 ให้โอกาสตนเองในการพบกับสิ่งใหม่ มีความรู้สึกว่าสามารถนำตนเองไปสู่การใช้ชีวิตที่ดีกว่าเดิม เปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีกว่าเดิม

     8.3 มีความเข้าใจในหลักศาสนาและปรัชญาชีวิตได้ลึกซึ้ง มีความรู้สึกว่าตนเองผูกพันกับศาสนา เข้าใจการใช้ชีวิต

     8.4 มีความแข็งแกร่งในตนเอง มีความรู้สึกว่าสามารถจัดการกับอุปสรรคได้

     8.5 การเห็นคุณค่าของชีวิต รู้สึกพอใจในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน พร้อมช่วยเหลือคนอื่น จัดลำดับความสำคัญในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น


Share:



การประชุมเรื่อง การขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นผู้นำทางสังคมด้านการกระจายอำนาจ/ถ่ายโอนภารกิจ

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดประชุมการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นผู้นำทางสังคมด้านการกระจายอำนาจ/ถ่ายโอนภารกิจ ในวันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมจันทร์กะพ้อ ชั้น 19 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำโดย นางสาวพิมพ์ธิดา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร โดยหารือในประเด็น การมอบหมายให้กอง/ศูนย์/กลุ่ม/สถาบัน/ที่เป็นหน่วยงานหลักในแต่ละด้านและประเด็นร่วมกับหน่วยงาน สนับสนุน ขับเคลื่อนการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ พร้อมทั้งการถ่ายโอนภารกิจสู่หน่วยงานท้องถิ่น ดังนี้

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

          นางสาวพิมพ์ธิดา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มการพัฒนาระบบบริหาร แจ้งให้ที่ประชุม ทราบว่า  นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นชอบสรุปผลการ ประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นผู้นำทางสังคม ตามที่กองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคมเสนอ และ มอบหมายให้กอง/ศูนย์/กลุ่ม/สถาบัน/ที่เป็นหน่วยงานหลักในแต่ละด้านและประเด็นร่วมกับหน่วยงาน สนับสนุน ขับเคลื่อนการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ โดยให้มีการรายงานความก้าวหน้าต่อ ปลัดกระทรวง เป็นประจำทุกสัปดาห์

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่อง

2.1 (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 – 2565 และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 – 2565 ด้านที่ 2 ด้านสังคม (๑) แผนภารกิจด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต (๑.๑) กลุ่มภารกิจด้านสวัสดิการสังคม มีภารกิจของ พม. ที่ถ่ายโอนให้แก่ท้องถิ่น จำนวน 7 ภารกิจ

2.2 กพบ. กพร. กรมในสังกัดกระทรวง และสำนักงาน ก.ก.ถ. ได้ประชุมร่วมกัน เพื่อทบทวนภารกิจที่บรรจุใน (ร่าง) แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 – 2565 และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 – 2565 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องพิจารณา

3.1 การกำหนดภารกิจที่ต้องถ่ายโอน ยืนยันตามข้อ 2.2 จากเดิม 7 ภารกิจ ขอยกเลิก 2 ภารกิจ และขอเพิ่ม 1 ภารกิจ รวมแล้วคงเหลือ 6 ภารกิจ

3.2 แนวทางการถ่ายโอน ดำเนินการตามขั้นตอน/วิธีปฏิบัติ ที่กำหนดไว้ใน (ร่าง) แผน เอกสารหมายเลข 1.

3.3 การเตรียมความพร้อมกฎหมาย และตัวชี้วัด

3.3.1 กฎหมาย

3.3.2 ตัวชี้วัดความสำเร็จของการถ่ายโอนภารกิจ

3.4 การเตรียมความพร้อมของท้องถิ่นในการถ่ายโอนภารกิจ

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่น


Share:



กิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน “การทำความสะอาดพื้นที่บริเวณโดยรอบอาคารที่ทำการกระทรวง พม.”

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 10.00 น. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สป.พม. เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน “การทำความสะอาดพื้นที่บริเวณโดยรอบอาคารที่ทำการกระทรวง พม.” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันเเม่เเห่งชาติ (๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖) บริเวณพื้นที่ภายนอกอาคารที่ทำการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บริเวณประตูทางออกด้านทิศใต้ ด้านหน้าสำนักงานธนานุเคราะห์


Share:



การประชุมเรื่อง การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

รองเลขาธิการ ก.พ.ร. นางสาววิริยา เนตรน้อย และทีมงาน ขอเข้าพบปลัดกระทรวงฯ รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือรวมถึง เก็บความต้องการของ พม. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนการบูรณาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารสวัสดิการ สังคมที่ควรจะเป็น (To Be) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในวันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 ในเวลา 13.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

โดยมีประเด็นการประชุม ดังนี้

1. ความต้องการในการใช้ประโยชน์จากการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการเปิดเผยข้อมูล (Open Data)

2. ข้อมูลของกระทรวง และกรม ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล

3. การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการวิเคราะห์ข้อมูล

4. ความต้องการอื่น ๆ


Share:



วันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ได้จัดคลินิกให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เข้าร่วมคลินิกให้คำปรึกษาการจัดทำตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1 จัดโดยสำนักงาน ก.พ.ร. ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์1 ชั้น 8 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นำโดย นางสาวพิมพ์ธิดา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เพื่อหารือในประเด็นตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ(Strategic KPIs) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และตัวชี้วัดประเมินส่วนราชการฯ ระดับกรม

โดยชี้แจงการประเมินประสิทธิผลการดําเนินงานอยู่ 2 ประเด็น  ดังนี้

1. การประเมินประสิทธิผลการดําเนินงาน (Performance Base) (ร้อยละ 70)

ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Functional KPIs)

1. ตัวชี้วัด : ค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ (Strategic KPIs)

2. ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรกลุ่มเป้าหมาย (Proxy KPIs)

3. ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดําเนินงานตามข้อเสนอแนะของสหรัฐอเมริกาตาม TIP Report 2023 ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือในประเด็นที่เป็นภารกิจของ พม.

4. ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการดําเนินงานตามแผนพัฒนาข้อเสนอ นโยบาย มาตรการทางสังคม

2. การประเมินศักยภาพในการดําเนินงาน (Potential Base) (ร้อยละ 30)

2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล ร้อยละ 20

2.2 การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) ร้อยละ 10


Share:



การประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ระดับกระทรวง/กรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุง ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ระดับกระทรวง/กรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Meeting นำโดย นางสาวพิมพ์ธิดา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร โดยชี้แจง 2 ประเด็น ได้แก่

1. แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

1) กรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

2) องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) (ร้อยละ 70)

3) องค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) (ร้อยละ 30)

4) แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

5) แนวทางการกำหนดเกณฑ์การประเมิน

6) การปรับเปลี่ยนรายละเอียดตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

7) การให้ข้อเสนอแนะเพื่อส่งสัญญาณล่วงหน้า (Early Warning)

8) แผนการดำเนินงานการประเมินส่วนราชการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

9) ความเชื่อมโยงของการประเมินส่วนราชการฯ กับการประเมินผู้บริหารองค์การ

2. ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) (ร้อยละ 70)

การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ร้อยละ 70)

  1. ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs)

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

1) ดัชนีการพัฒนามนุษย์

2) ดัชนีความเข้มแข็งของครอบครัวไทย

3) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของดัชนีความก้าวหน้าของคนในมิติการมีส่วนร่วม

4) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของปริมาณทุนทางสังคม มิติด้านองค์กรภาคประชาสังคม

5) สัดส่วนประชากรอายุ 25 – 59 ปีที่มีการเตรียมการเพื่อยามสูงอายุทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสภาพแวดล้อม ต่อจำนวนประชากรอายุ 25 – 59 ปี ทั้งหมด

6) สัดส่วนผู้สูงอายุเป้าหมายในระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าได้รับการดูแลต่อผู้สูงอายุเป้าหมายในระบบทั้งหมด

7) ร้อยละที่ลดลงของดัชนีความยากจนหลากหลายมิติของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือ

8) สัดส่วนของประชากรกลุ่มเปราะบางที่ได้รับการยกระดับตาม 3 ขั้นของการพัฒนาต่อกลุ่มเปราะบาง ในระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้าทั้งหมด (อยู่รอด : พอเพียง : ยั่งยืน)

9) ร้อยละที่ลดลงของจำนวนคนเปราะบางในระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า

  • ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Functional KPIs)

1) ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Functional KPIs)

-ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติแผนแม่บทภายใต้ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน (Agenda KPIs)

-ผลการดำเนินงานการบูรณาการร่วมกันภายใต้ภารกิจเดียวกัน (Joint KPIs by Function)

-ผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน งานประจำ งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก งานตามกฎหมาย กฎ หรือ ภารกิจในพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด กลุ่มจังหวัด

-ผลการดำเนินงานของดัชนีชี้วัดสากลที่วัดผลตามภารกิจ ของหน่วยงาน (International KPIs)

               2) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)

               -ผลการดำเนินงานการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานตาม ประเด็นนโยบายสำคัญ (Joint KPIs by Agenda)

 องค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base) (ร้อยละ 30)

2.1 การพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล (ร้อยละ 20)

– การสร้างนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนงานหรือการให้บริการ (e-Service)

– การพัฒนาระบบข้อมูลให้เป็นดิจิทัล (Digitize Data) ทั้งข้อมูลที่ใช้ภายในหน่วยงาน และข้อมูลที่จะเผยแพร่สู่หน่วยงานภายนอก/ สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)

– การปรับเปลี่ยนหน่วยงานไปสู่ความเป็นดิจิทัล (Digital Transformation)

2.2 การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (ร้อยละ 10)


Share:



การประเมินรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม “พลังเครือข่ายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง อย่างเข้าถึง ทั่วถึง เป็นธรรมจังหวัดสตูล”

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พร้อมทั้งสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล เข้ารับการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Meeting นำโดย

นายกันตพงศ์  รังษีสว่าง รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ นายอนุรักษ์ มลิวัลย์  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตูล พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยมีคณะตรวจประเมินได้แก่ ดร.อรพินท์ สพโชคชัย เป็นประธานการตรวจประเมิน ดร.ฉวีวรรณ เกียรติโชคชัยกุล และนางพิศมัย นิธิไพบูลย์ เป็นกรรมการตรวจประเมิน

ซึ่งได้นำเสนอผลงานโดยมี 1.) ที่มา/ปัญหา 2.) กระบวนการมีส่วนร่วมของผลงาน 3.) บทบาทของหน่วยงาน 4.) วิธีการในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ 5.) ผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ 6.) ความยั่งยืน(Next Step) ที่สำคัญคือบทบาทในการเป็นผู้นำ และการเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการนี้ของบังซัน

 (นายอติพล ดำพิลา) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


Share:



การตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ประจำปี พ.ศ.2566 (ประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0)

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้ารับการตรวจประเมินรางวัลบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 โดยมีคณะผู้ตรวจประเมิน ได้แก่ 

นายปรัชญา เวสารัชช์ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ นางสาวดารัตน์ บริพันธกุล นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมคณะผู้บริหาร โดยได้นำเสนอในประเด็นดังนี้ 1.) การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ของ สป.พม. 2.)ผลการดำเนินงานพัฒนา สป.พม. 

สู่ราชการ 4.0 3.) ผลงาน/ความโดดเด่นของการเป็นระบบราชการ 4.0 ทั้ง 3 มิติ (เปิดกว้างเชื่อมโยง, ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง, มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย) 

4.) แผนการยกระดับสู้การเป็นระบบราชการ 4.0 ในอนาคต 5.) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 ระหว่างเวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมวังสะพานขาว ชั้น 18 อาคารกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial